เทคนิควิจัยปริญญาโท

เทคนิควิจัยปริญญาโท

การศึกษาในระดับมหาบัณฑิต หรือ ระดับปริญญาโท หลายคณะ หลายมหาวิทยาลัย จะกำหนดให้นิสิต / นักศึกษา ต้องทำงานวิจัย ซึ่งอาจจะเป็น วิทยานิพนธ์ (Thesis) ภาคนิพนธ์ (Term Paper) การค้นคว้าอิสระ (Independent Study:IS) ปัญหาพิเศษ หรือโครงการต่างๆ ขึ้นอยู่กับที่คณะและมหาวิทยาลัยนั้นๆ กำหนด  โดยหากเป็นการทำงานในรูปแบบของการศึกษาคว้นคว้าวิจัย  เทคนิควิจัยปริญญาโท ที่สามารถช่วยให้ผู้ทำวิจัย  ซึ่งจากประสบการณ์ ปรึกษาการทำวิจัย ตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่ผ่านมา สามารถสรุปเทคนิคการทำงานวิจัยได้สำเร็จ ทันเวลา และงานมีคุณภาพ มีดังนี้

เทคนิควิจัยปริญญาโท
เทคนิควิจัยปริญญาโท

แนวทาง และ  7 เทคนิควิจัยปริญญาโท

1.ทบทวนเนื้อหาวิชาที่ได้ศึกษา

การทบทวนเนื้อหาที่ได้เล่าเรียนมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยอาจพิจารณาว่าเนื้อหาวิชาเหล่านั้น มีแนวคิด ทฤษฎี ใดบ้างที่ผู้ทำวิจัยมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องเหล่านั้น หรือมีความสนใจในงานด้านไหนเป็นพิเศษ เช่น หากเรียนในคณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน และทำงานอยู่ในบริษัทหลักทรัพย์  อาจเลือก หัวข้อวิจัย หัวข้อ thesis ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรที่ตนทำงานาอยู่

เช่น งานวิจัยด้านหลักทรัพย์ อัตราผลตอบแทน ความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ เหล่านี้เป็นต้น

2. วางแผนการทำงาน

ผู้ทำวิจัยจะต้องทราบ Timeline ของการส่งงานวิจัยของตนต่อคณะหรืออาจารย์ที่ปรึกษาอย่างแน่นอนชัดเจน และต้องทราบว่าจะต้องส่งอะไรก่อนหลัง  เช่น เสนอหัวข้อกับอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน หรือทำการส่งโครงร่างวิจัย (Proposal) ได้เลย หรือสามารถส่งงานวิจัยในบทแรกพร้อมหัวข้อได้เลย และจะต้องส่งภายในวันไหน เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก บ่อยครั้งที่ผู้ทำวิจัยยุ่งอยู่กับการทำงานและภาระต่างๆ จนลืมดูกำหนดส่งงานในแต่ละครั้ง ทำให้อาจส่งไม่ทันหรือต้องรีบเร่งทำงานในแต่ละส่วน จนได้ผลงานที่ไม่ดีเท่าที่ควร

3. เลือกหัวข้อที่เป็นไปได้

การเลือกหัวข้อวิจัยที่เหมาะสม หรือมีความเป็นไปได้ที่เราจะสามารถทำต่อจนเสร็จ สามารถสอบปิดเล่มได้ นอกจากจะเป็นหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวข้องและตรงกับหลักสูตร ที่ศึกษาแล้ว  นักศึกษา ผู้ทำวิจัย จะต้องเลือกหัวข้อที่มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปทำต่อได้ หลักการคือ ต้องเป็นเรื่องที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และมีความน่าสนใจ  เช่น หากทำงานวิจัยด้านการเงิน และในขณะที่ทำวิจัยกำลังเกิดปัญหาสงครามระหว่างประเทศ เช่น ยูเครน – รัสเซีย  ผู้วิจัยอาจเลือกหัวข้อวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ดังกล่าว เช่น “การศึกษาภาวะสงครามระหว่างประเทศที่ส่งผลต่อความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์” เป็นต้น

4. ทบทวนวรรณกรรม

หลังจากทำการเลือกหัวข้อวิจัย หรือชื่อเรื่องวิจัยได้แล้ว  สิ่งที่จะต้องทำต่อในลำดับต่อไปคือการรีวิว (Review) หรือ ทบทวนวรรณกรรม (Literature Review)  ซึ่งการรีวิว หรือทบทวนนี้ จะเกี่ยวข้องกับคำหลัก (Keyword) ที่เรากหนดไว้ในหัวข้อวิจัยนั่นเอง เช่น หากเลือกเรื่องเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทน ความเสี่ยงจากการลงทุน และภาวะสงครามที่ส่งผลต่อการลงทุน ผู้วิจัยจะต้องทำการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว เช่น ทฤษฎีตลาดทุน ความเสี่ยงในการลงทุน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุน และทฤษฎีเกี่ยวกับเหตุการณ์ (Event Study) เป็นต้น

5. กำหนดกรอบแนวคิดวิจัย

6. วางแผนการเก็บข้อมูล

7. เลือกโปรแกรมวิเคราะห์ที่เหมาะสม

 

Scroll to Top